ความสำคัญของเมืองนครราชสีมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2411-2453)

วิทยานิพนธ์นี้ มุ่งศึกษาบทบาทความสำคัญของเมืองนครราชสีมา ตั้งแต่เมื่อแรกเข้ามาเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของอาณาจักรไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ชี้ให้เห็นถึงอำนาจและอิทธิพลทางการเมืองของเมืองนครราชสีมาที่มีต่อหัวเมืองอื่นๆ บนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ นครราชสีมามีฐานะเป็นหัวเมืองโทที่มีลักษณะเด่นกว่าหัวเมืองโทอื่นๆ เพราะมีสถานที่ตั้งเป็นหัวเมืองชายแดนที่สำคัญทางด้านทิศตะวันออกของกรุงศรีอยุธยา ในสมัยรัตนโกสินทร์ภายหลังกบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์เมื่อ พ.ศ. 2369 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น นครราชสีมาได้รับการยกฐานะเป็นหัวเมืองเอกที่มีอำนาจปกครองดูแลหัวเมืองบนที่ราบสูงโคราช และหัวเมืองประเทศราชลาว ในระยะที่มหาอำนาจยุโรปกำลังดำเนินนโยบายแผ่อิทธิพลและขยายอำนาจทางการเมือง เข้ามาในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยก็ไม่อาจรอดพ้นจากการคุกคามของมหาอำนาจได้ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ความบีบคั้นทางการเมืองซึ่งเกิดขึ้นจากภายนอกประเทศทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแผ่อิทธิพลทางการเมืองของมหาอำนาจฝรั่งเศสเข้ามาทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ทำให้รัฐบาลเริ่มหวั่นวิตกอย่างมากว่า อาจจะต้องสูญเสียอำนาจในการปกครองเหนือดินแดนทางภาคนี้ไป ฉะนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงปรับปรุงการปกครองดินแดนทางภาคนี้ให้รัดกุมยิ่งขึ้น ทรงเริ่มต้นจากการปรับปรุงการปกครองหัวเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือในปี พ.ศ. 2433 และต่อมาในปี พ.ศ. 2435 ทรงปฏิรูปการปกครองส่วนภูมิภาคทั่วพระราชอาณาจักร แม้ว่าเจ้าเมืองนครราชสีมาจะถูกตัดทอนอำนาจทางการเมืองลงบ้างตั้งแต่ พ.ศ. 2433 แล้วก็ตาม แต่กรุงเทพฯ ก็ยังคงเห็นความสำคัญของเมืองนครราชสีมา และใช้เมืองนี้เป็นฐานกำลังในการรักษาอำนาจการปกครองของรัฐบาลกลาง เหนือหัวเมืองทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพฯ – นครราชสีมา แสดงให้เห็นว่ากรุงเทพฯ เห็นความสำคัญของหัวเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากยิ่งขึ้น และต้องการเข้ามาดูแลปกครองอย่างใกล้ชิดกว่าแต่ก่อน นอกจากนี้ กรุงเทพฯ ยังให้ความสำคัญแก่เมืองนครราชสีมาในฐานะเป็นแหล่งยุทธศาสตร์ เป็นแหล่งกำลังทหาร เป็นที่มั่นในการสู้รบในกรณีที่อาจจะเกิดสงครามกับฝรั่งเศสขึ้นได้ กำลังทหารของเมืองนครราชสีมามีส่วนสนับสนุนให้กรุงเทพฯ สามารถขยายอำนาจการปกครองเหนือหัวเมืองอีสานทั้งหมดได้เป็นผลสำเร็จ ยิ่งไปกว่านั้น นครราชสีมายังเป็นตัวอย่างของการยอมรับอำนาจของรัฐบาลกลางและการผสมกลมกลืนกันในทางสังคมและวัฒนธรรมของชาวกรุงเทพฯ และชาวอีสานอีกด้วย

ข้อมูลและทรัพยากร

ข้อมูลเพิ่มเติม

ฟิลด์ ค่า
* ประเภทชุดข้อมูล ข้อมูลระเบียน
ยินยอมให้นำชื่อชุดข้อมูลไปใช้ที่ GD-Catalog ยินยอม
* ชื่อผู้ติดต่อ พวงไข่มุกข์ คุณารัตนพฤกษ์
* อีเมลผู้ติดต่อ none@chula.ac.th
* วัตถุประสงค์ เพื่อการให้บริการประชาชน
* หน่วยความถี่ของการปรับปรุงข้อมูล ไม่มีการปรับปรุงหลังจากการจัดเก็บข้อมูล
ค่าความถี่ของการปรับปรุงข้อมูล (ความถี่น้อยที่สุด)
* ขอบเขตเชิงภูมิศาสตร์หรือเชิงพื้นที่ ไม่มี
* แหล่งที่มา http://cuir.chula.ac.th/handle/123456789/17428?src=%2Fsimple-search%3Fquery%3D%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%258A%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B5%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B2%26rpp%3D10%26sort_by%3Dscore%26order%3Ddesc%26brw_total%3D377%26brw_pos%3D7&query=%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%B2
* รูปแบบการเก็บข้อมูล HTML
* หมวดหมู่ข้อมูลตามธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ข้อมูลสาธารณะ
* สัญญาอนุญาตให้ใช้ข้อมูล License not specified
เงื่อนไขในการเข้าถึงข้อมูล
ผู้สนับสนุนหรือผู้ร่วมดำเนินการ หน่วยงานของรัฐ
หน่วยที่ย่อยที่สุดของการจัดเก็บข้อมูล ไม่มี
URL http://cuir.chula.ac.th/handle/123456789/17428?src=%2Fsimple-search%3Fquery%3D%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%258A%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B5%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B2%26rpp%3D10%26sort_by%3Dscore%26order%3Ddesc%26brw_total%3D377%26brw_pos%3D7&query=%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%B2
ภาษาที่ใช้ ไทย
วันที่เริ่มต้นสร้าง 2 กรกฎาคม 2566
วันที่ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 2 กรกฎาคม 2566
ชุดข้อมูลที่มีคุณค่าสูง ใช่
ข้อมูลอ้างอิง ใช่
สร้างโดย Gravatar cuid-admin
สร้างในระบบเมื่อ 2 กรกฎาคม 2566
ปรับปรุงครั้งล่าสุดในระบบเมื่อ 2 กรกฎาคม 2566