แนวทางการใช้ที่ราชพัสดุของอำเภอเมืองนครราชสีมา (2539)

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงลักษณะที่ตั้ง การใช้ การกระจายตัวและปัญหาที่ราชพัสดุเพื่อหาความสัมพันธ์และขนาดที่ดินที่เหมาะสมระหว่างกิจกรรมที่ตั้งในการให้บริการตามกฎเกณฑ์มาตรฐานของหน่วยงานราชการเสนอแนวทางในการใช้ที่ราชพัสดุของอำเภอเมืองให้สอดคล้องต่อการผังเมือง และมีประสิทธิภาพ ผลการวิจัยพบว่า อำเภอเมืองนครราชสีมา มีความสำคัญเป็นศูนย์กลางการปกครอง เป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการที่เป็นตัวแทนของฝ่ายบริหารที่ราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ถึง 307 หน่วยงานจาก 85 กรม 15 กระทรวง หน่วยงานราชการเหล่านี้จะมีสำนักงานตั้งอยู่ที่ตำบลในเมืองหรือเทศบาลเมืองนครราชสีมา ร้อยละ 59.47 ที่เหลือจะกระจายอยู่ตามตำบลอื่นๆ อีก 22 ตำบล ที่ราชพัสดุเป็น[ทรัพย์]สินของรัฐที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในกรุงเทพฯ มี กรมธนารักษ์ เป็นผู้ดูแลจัดทำทะเบียน อนุญาตให้ใช้หรือเรียกคืน ส่วนในจังหวัดอื่นมีสำนักงานราชพัสุจังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ จากการศึกษาพบว่ามีที่ราชพัสดุในอำเภอเมืองนครราชสีมาจำนวน 274 แปลง อยู่ที่ตำบลในเมืองจำนวน 137 แปลง หรือร้อยละ 50.06 เป็นที่ดินที่มีขนาดเนื้อที่ต่ำกว่า 3 ไร่ ถึง 92 แปลง ส่วนที่ราชพัสดุที่มีขนาดเนื้อที่มากกว่า 300 ไร่ขึ้นไป อยู่ในตำบลโพธิ์กลาง หนองไผ่ล้อม และหนองจะบก ส่วนที่เหลืออยู่ในตำบลอื่นๆ ใช้เป็นที่ตั้งของสำนักงานราชการจำนวน 64 แปลง สถานการศึกษา จำนวน 69 แปลง สถานพยาบาล จำนวน 20 แปลง บ้านพักข้าราชการจำนวน 39 แปลงและจัดหาประโยชน์ จำนวน 48 แปลง ที่ราชพัสดุเหล่านี้อยู่ในเขตผังเมืองรวมนครราชสีมาเกือบทั้งหมด แนวทางการใช้ที่ราชพัสดุในอำเภอเมืองนครราชสีมา ควรจัดตั้งย่านสถาบันราชการหรือศูนย์ราชการในรูปแบบอาคารสูงบริเวณศาลากลางจังหวัดและพื้นที่ใกล้เคียง จัดตั้งย่านการศึกษาและสาธารณสุขในบริเวณที่ราชพัสดุทางเหนือของเมืองนครราชสีมาเก่า และปรับปรุงพื้นที่บริเวณกำแพงเมืองเก่าให้เป็นพื้นที่เพื่ออนุรักษ์ นอกจากนั้นเห็นควรเปลี่ยนแปลงเกณฑ์มาตรฐานในการใช้ที่ราชพัสดุให้สอดคล้องต่อการจัดย่านราชการที่กล่าวมาข้างต้นและควรมีหน่วยงานราชการที่มีอำนาจในการบริหารที่ราชพัสดุอย่างแท้จริงเพียงหน่วยงานเดียว

ข้อมูลและทรัพยากร

ข้อมูลเพิ่มเติม

ฟิลด์ ค่า
* ประเภทชุดข้อมูล ข้อมูลระเบียน
ยินยอมให้นำชื่อชุดข้อมูลไปใช้ที่ GD-Catalog ยินยอม
* ชื่อผู้ติดต่อ สุกิจ เที่ยงมนีกุล
* อีเมลผู้ติดต่อ none@chula.ac.th
* วัตถุประสงค์ เพื่อการให้บริการประชาชน
* หน่วยความถี่ของการปรับปรุงข้อมูล ไม่มีการปรับปรุงหลังจากการจัดเก็บข้อมูล
ค่าความถี่ของการปรับปรุงข้อมูล (ความถี่น้อยที่สุด)
* ขอบเขตเชิงภูมิศาสตร์หรือเชิงพื้นที่ อำเภอ
* แหล่งที่มา http://cuir.chula.ac.th/handle/123456789/62820?src=%2Fsimple-search%3Fquery%3D%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%258A%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B5%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B2%26rpp%3D10%26sort_by%3Dscore%26order%3Ddesc%26brw_total%3D377%26brw_pos%3D8&query=%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%B2
* รูปแบบการเก็บข้อมูล HTML
* หมวดหมู่ข้อมูลตามธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ข้อมูลสาธารณะ
* สัญญาอนุญาตให้ใช้ข้อมูล License not specified
เงื่อนไขในการเข้าถึงข้อมูล
ผู้สนับสนุนหรือผู้ร่วมดำเนินการ หน่วยงานของรัฐ
หน่วยที่ย่อยที่สุดของการจัดเก็บข้อมูล ไม่มี
URL https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62820
ภาษาที่ใช้ ไทย
วันที่เริ่มต้นสร้าง 2 กรกฎาคม 2566
วันที่ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 2 กรกฎาคม 2566
ชุดข้อมูลที่มีคุณค่าสูง ใช่
ข้อมูลอ้างอิง ใช่
สร้างโดย Gravatar cuid-admin
สร้างในระบบเมื่อ 2 กรกฎาคม 2566
ปรับปรุงครั้งล่าสุดในระบบเมื่อ 2 กรกฎาคม 2566